History

ประวัติคณะจิตวิทยา

        คณะจิตวิทยาเริ่มก่อตั้งจากการเสนอขอจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ ด้วยความมุ่งมั่นและปณิธานที่แน่วแน่ของคณะกรรมการบริหารและเพื่อให้ก้าวทันกับความท้าทายต่อการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองความ ต้องการของสังคม เริ่มต้นจากเมื่อเดือนมิถุนายน 2542 คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยเซนต์หลุยส์มอบ นโยบายให้คณะกรรมการโครงการพิเศษจัดดำเนินการร่างหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาขึ้น ต่อจากนั้นได้นำเสนอการขออนุมัติเปิดหลักสูตรใหม่ จากพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ประธานสภาวิทยาลัย เพื่อดำเนินการเปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาจิตวิทยา ในคณะศิลปศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะที่ตั้งขึ้นใหม่ในปีการศึกษา 2544 มี ผศ.ดร.สุวรรณา อนุสันติ เป็นคณบดีคนแรก โดยได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการพิจารณาหลักสูตร คณะกรรมการสภาวิทยาลัยฯ และทบวงมหาวิทยาลัย พร้อมกับขอเปลี่ยน ชื่อ “วิทยาลัยพยาบาลเซนต์หลุยส์” เป็น “วิทยาลัยเซนต์หลุยส์” เพื่อให้ครอบคลุมหลักสูตรในศาสตร์สาขา



        เมื่อเริ่มเปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (จิตวิทยา) เป็นหลักสูตรแรกโดยเปิดสอนในปี พ.ศ. 2544 มีแนวทางในการจัดทำหลักสูตรที่ให้การบริการวิชาการที่หลากหลายต่อสังคม ซึ่งสอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปี พ.ศ. 2542 และเป็นไปตามนโยบายของทบวงมหาวิทยาลัยในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา รวมทั้งตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน สถาบัน หน่วยงาน และองค์กรทั่วไปในสังคม ในปัจจุบันที่นับวันจะมีแนวโน้มของการขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งการ ขยายตัวดังกล่าว ทำให้สถาบันหรือหน่วยงานจำเป็นต้องให้ความสนใจต่อนักศึกษาและบุคลากรควบคู่ไปกับ ความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีด้วย จากการสำรวจ พ.ศ. 2542 พบว่าคนไทยมีปัญหาสุขจิต 179,119 คน สาเหตุมาจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้น ผู้คนต่อสู้กับสภาวะ เศรษฐกิจที่ผันผวน ก่อให้เกิดความเครียดและความผิดปกติจากอารมณ์ จึงจำเป็นต้องได้รับการแนะนำ ช่วยเหลือจากผู้สำเร็จการศึกษาด้านจิตวิทยา จะเห็นได้ชัดเจนว่า นักจิตวิทยาจะเข้ามาช่วยในการดำเนินการ พัฒนานักเรียนนักศึกษาและบุคลากรควบคู่กับการดำเนินการพัฒนาด้านอื่นๆ ขององค์กรอย่างใกล้ชิด ดังนั้น วิทยาลัยเซนต์หลุยส์มุ่งหวังให้บัณฑิตที่สำเร็จจากคณะศิลปศาสตร์ สาขาจิตวิทยาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ประกอบด้วยความรู้คู่ความดี ซึ่งหมายถึงการมีความรู้ในศาสตร์ทางด้านจิตวิทยามีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรับผิดชอบ มีความรักความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดี



ลำดับเหตุการณ์สำคัญในช่วงหนึ่งทศวรรษครึ่งกับพัฒนาการของคณะจิตวิทยา มีดังนี้


        10 มกราคม 2544 คณะกรรมการกำกับมาตรฐานการศึกษาสาขาสังคมศาสตร์ ได้มีมติเห็นชอบให้ วิทยาลัยฯ เปิดดำเนินการและรับรองวิทยฐานะหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพร้อมจัดตั้ง คณะศิลปศาสตร์ขึ้น จากนั้นเป็นต้นมา คณะศิลปศาสตร์จึงได้รับการอนุมัติและรับรองให้ดำเนินการจัดการ เรียนการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ ตามลำดับดังนี้

        ปีการศึกษา 2544 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา แยกเป็นกลุ่มวิชาจิตวิทยา การปรึกษาและกลุ่มวิชาจิตวิทยาองค์การ

        ปีการศึกษา 2546 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์

        ปีการศึกษา 2547 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

        ปีการศึกษา 2549 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา แยกเป็นกลุ่มวิชาจิตวิทยาการปรึกษา กลุ่มวิชาจิตวิทยาองค์การ และกลุ่มจิตวิทยาคลินิก

        ปีการศึกษา 2551 หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์ แยกเป็นกลุ่ม วิชาจิตวิทยาสุขภาพและชุมชน และ กลุ่มวิชาจิตวิทยาและการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์

        ปีการศึกษา 2552 ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเดิมเป็นกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศเชิงวิชาชีพและกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการ สื่อสารธุรกิจสุขภาพ

        ปีการศึกษา 2555 ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์ แยกเป็นกลุ่มวิชาจิตวิทยาการปรึกษา สุขภาพและชุมชนและกลุ่มวิชาจิตวิทยาองค์การและการบริหารจัดการ ทรัพยากรมนุษย์

        ปีการศึกษา 2555 ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา แยกเป็นวิชาเอก จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ และจิตวิทยาคลินิก

        ปีการศึกษา 2556 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการประกอบการธุรกิจ นานาชาติ

        ปีการศึกษา 2557 ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการคณะศิลปศาสตร์ คณะกรรมการ บริหารวิทยาลัยฯ คณะกรรมการสภาวิทยาลัยฯ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อคณะจาก “คณะศิลปศาสตร์” เป็น “คณะจิตวิทยา”





วัตถุประสงค์


1. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ มีจิตสำนึกในคุณธรรม จริยธรรม ในการประกอบวิชาชีพ การพัฒนาตนเอง วิชาชีพ และสังคมอย่างต่อเนื่อง

2. ศึกษาค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาวิชาการ

3. ให้บริการวิชาการแก่สังคม

4. ธำรงรักษา ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของชาติ

5. ให้โอกาสทางการศึกษา โดยให้ผู้เรียนมีทางเลือกมากขึ้น

6. พัฒนา ปรับปรุง หลักสูตรทุกสาขาวิชา ให้มีความทันสมัย ปลูกฝังให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต